เมนู

บทว่า นิกนฺตี ได้แก่ ความเพ่งเล็ง คือตัณหา ความเพ่งเล็งใน
ชีวิต ชื่อว่าย่อมไม่มี เพราะเข้าไปปรากฏด้วยดี โดยความที่อุปาทานขันธ์
ทั้งหลายเป็นทุกข์ และหาสาระมิได้ เพราะความที่สังขารถูกพิจารณา ขยำขยี้
มาแล้วเป็นอย่างดี. เราผู้เป็นแล้วอย่างนี้ จักทิ้ง คือจักทอดทิ้ง ร่างกายของ
ตน คือสรีระ หรือร่างของตนกล่าวคือ เทหะ อันเป็นภาระ คือทุกข์
และเมื่อจะทอดทิ้ง ก็คิดว่า กิจที่จะพึงยังประโยชน์ให้สำเร็จ ด้วยร่างกายนี้
เราให้สำเร็จแล้ว บัดนี้ รางกายนั้นควรทิ้งไปได้โดยแท้ ดังนี้ ชื่อว่าเป็นผู้มี
สัมปชัญญะ เพราะถึงความไพบูลย์ด้วยปัญญา ชื่อว่า มีสติ เพราะถึงความ
ไพบูลย์ด้วยสติ จักทอดทิ้งไป ดังนี้. ก็พระเถระ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว
เข้าฌาน ปรินิพพานแล้ว ในระหว่างนั้นเอง ฉะนี้แล.
จบอรรถกถาอชิตเถรคาถา
จบวรรควรรณนาที่ 2
แห่งอรรถถกถาเถรคาถา ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี.

ในวรรคนี้รวมพระเถระได้ 10 รูปคือ


1. พระจูฬวัจฉเถระ 2. พระมหาวัจฉเถระ 3. พระวนวัจฉเถระ
4. พระสิวกเถระ 5. พระกุณฑธานเถระ 6. พระเพลัฏฐสีสเถระ
7. พระทาสกเถระ 8. พระสิงคาลปิตาเถระ 9. พระกุฬเถระ 10. พระ-
อชิตเถระ และอรรถกถา.

เถรคาถา เอกนิบาตวรรคที่ 3


1. นิโครธเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระนิโครธเถระ


[158] ได้ยินว่า พระนิโครธเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
เราไม่กลัวภัย พระศาสดาของเราทั้งหลาย เป็น
ผู้ฉลาดในธรรมอันไม่ตาย ภัยย่อมไม่ตั้งอยู่ในหน
ทางใด ภิกษุทั้งหลาย ย่อมไป โดยหนทางนั้น.

วรรควรรณนาที่ 3


อรรถกถานิโครธเถรคาถา


คาถาของท่านพระนิโครธเถระเริ่มต้นว่า นาหํ ภยสฺส ภายามิ.
เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร ?
ได้ยินว่า ในกัปที่ 118 นับแต่ภัทรกัปนี้ ท่านเกิดในตระกูลพราหมณ์
มหาศาล เจริญวัยแล้ว เห็นโทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกบวช
ละสิ่งผูกพันในเรือน เข้าไปสู่ราวป่า กระทำบรรณศาลาในหมู่ไม้สาละในป่า
บวชเป็นดาบส มีมูลผลาผลในป่าเป็นอาหารอยู่.
สมัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปิยทัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว
ในโลก ทรงยังความเร่าร้อน คือกิเลส ของโลกพร้อมทั้งเทวโลก ให้ดับได้